สำนวนสุภาษิตไทย

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สำนวนไทย หมวด ก. ค. ฆ.


หมวด ก.

กงเกวียนกำเกวียน -  เวรสนองเวร กรรมสนองกรรม

กบในกะลาครอบ   -    ผู้มีประสบการณ์และความรู้น้อย แต่สำคัญตนว่ามีความรู้มาก

กรวดน้ำคว่ำกะลา – ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย

กระเชอก้นรั่ว – สุรุ่ยสุร่าย, ไม่รู้จักเก็บหอมรอมริบ, ไม่ประหยัด

กระดังงาลนไฟ –  ผู้หญิงที่เคยแต่งงานหรือผ่านผู้ชายมาแล้ว 

กระดี่ได้น้ำ –   อาการแสดงความดีอกดีใจ ตื่นเต้นจนตัวสั่น

กระต่ายขาเดียว –  ยืนกรานไม่ยอมรับ

กระต่ายตื่นตูม –    คนที่แสดงอาการตื่นตกใจง่ายโดยไม่ทันสำรวจให้ถ่องแท้

กระต่ายหมายจันทร์ –  ผู้ชายหมายปองผู้หญิงที่มีฐานะดีกว่า

กระโถนท้องพระโรง –  ผู้ที่ใคร ๆ ก็ใช้ได้ หรือผู้ที่ใคร ๆ ก็พากันรุมใช้อยู่คนเดียว

กวนน้ำให้ขุ่น –  ทำเรื่องราวที่สงบอยู่แล้วให้เกิดวุ่นวายขึ้นมา

กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้ –  ลักษณะของการทำงานที่มีความลังเล 

กาคาบพริก –  ลักษณะที่คนผิวดำแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีแดง


สำนวนไทย หมวด ง. จ. ช. ซ. ฒ. ด.


หมวด ง.  จ.

งมเข็มในมหาสมุทร – ทำกิจที่สำเร็จได้ยาก

งอมืองอตีน – เกียจคร้าน, ไม่สนใจขวนขวายการทำงาน

เงยหน้าอ้าปาก – มีฐานะดีขึ้นกว่าเดิมพอทัดเทียมเพื่อน

จับแพะชนแกะ – ทำอย่างขอไปที ไม่ได้อย่างนี้ก็เอาอย่างนั้นเข้าแทน เพื่อให้ลุล่วงไป

จับเสือมือเปล่า – แสวงหาประโยชน์โดยตัวเองไม่ต้องลงทุน

จุดไต้ตำตอ – พูดหรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งบังเอิญไปโดนเจ้าตัวเข้า โดยที่ผู้พูดไม่รู้ตัว

หมวด ช. ซ.

ชนักติดหลัง – ความชั่วหรือความผิดที่ยังติดตัวอยู่

ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน – ชักนำศัตรูเข้าบ้าน

ชักใบให้เรือเสีย – พูดหรือทำขวาง ๆ ให้การสนทนาหรือการงานเขวออกนอกเรื่องไป

ชักแม่น้ำทั้งห้า – พูดจาหว่านล้อมยกยอบุญคุณเพื่อขอสิ่งที่ประสงค์

ชักหน้าไม่ถึงหลัง – มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย

ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม, ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม – ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ทำแล้วจะสำเร็จผล

ช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวมาปิดไม่มิด – ความชั่วหรือความผิดร้ายแรงที่คนรู้ทั่วกันแล้ว 

จะปิดอย่างไรก็ไม่มิด

ชิงสุกก่อนห่าม – ทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัน หรือยังไม่ถึงเวลา (มักหมายถึงการลักลอบ

ได้เสียกันก่อนแต่งงาน)

ชุบมือเปิบ – ฉวยประโยชน์จากคนอื่นโดยไม่ได้ลงทุนลงแรง

สำนวนไทย หมวด น. ถ. ท. ต.


หมวด ต.

ตกกระไดพลอยโจน – จำเป็นที่จะต้องยอมเข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ

ไม่มีทางเลี่ยง

ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ – ตกอยู่ในที่คับขันอย่างไรก็ไม่เป็นอันตราย

ตบมือข้างเดียวไม่ดัง – ทำอะไรฝ่ายเดียวไม่เกิดผล

ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา – ให้รู้จักฐานะของตนและเจียมตัว

ตัดช่องน้อยแต่พอตัว – เอาตัวรอดแต่ผู้เดียว

ตัดไฟต้นลม, ตัดไฟหัวลม – ตัดต้นเหตุเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ลุกลามต่อไป

ตัดหางปล่อยวัด – ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง ไม่เอาเป็นธุระอีกต่อไป

ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ – ลงทุนไปโดยได้ผลประโยชน์ไม่คุ้มทุน

ตีตนก่อนไข้, ตีตนตายก่อนไข้ – กังวลทุกข์ร้อนหรือหวาดกลัวในเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น

ตีนถีบปากกัด – มานะพยายามทำงานทุกอย่างเพื่อปากท้องโดยไม่คำนึงถึงความ

เหนื่อยยาก

ตีวัวกระทบคราด – โกรธคนหนึ่งแต่ทำอะไรเขาไม่ได้ ไพล่ไปรังควานอีกคนหนึ่ง

เตี้ยอุ้มค่อม – คนที่มีฐานะต่ำต้อยหรือยากจน แต่รับภาระเลี้ยงดูคนที่มีฐานะเช่นตนอีก

แตงร่มใบ – มีผิวเป็นนวลใยในวัยสาว

สำนวนไทย หมวด บ. ป


หมวด บ.

บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น – รู้จักผ่อนปรนเข้าหากัน มิให้กระทบกระเทือนใจกัน

บ่างช่างยุ – คนที่ชอบพูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกกัน

บ้าหอบฟาง – บ้าสมบัติ เห็นอะไร ๆ เป็นของมีค่าจะเอาทั้งนั้น, อาการทีหอบหิ้วสิ่งของ

พะรุงพะรัง

บุญทำกรรมแต่ง – บุญหรือบาปที่ทำไว้ในชาติก่อน เป็นเหตุทำให้รูปร่างหน้าตาหรือชีวิต

ของคนเราในชาตินี้ สวยงาม ดี ชั่ว เป็นต้น

เบี้ยน้อยหอยน้อย – มีเงินน้อย, มีไม่มาก

เบี้ยบ้ายรายทาง – เงินที่จะต้องใช้จ่ายหรือเสียไปเรื่อย ๆ เป็นระยะ ๆ ในขณะทำธุรกิจ

อย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จ

หมวด ป.

ปล่อยลูกนกลูกกา – ปล่อยให้เป็นอิสระ, ไม่เอาผิด

ปล่อยเสือเข้าป่า – ปล่อยศัตรูไปอาจกลับมาทำร้ายภายหลังอีก

ปลาหมอตายเพราะปาก – คนที่พูดพล่อยจนได้รับอันตราย

ปลาใหญ่กินปลาเล็ก – คนที่มีอำนาจหรือผู้ใหญ่ที่กดขี่ข่มเหงผู้อ่อนแอหรือผู้น้อย

ปลูกเรือนคร่อมตอ – กระทำสิ่งซึ่งล่วงล้ำ ก้าวก่ายสิทธิของผู้อื่น จะโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

หรือไม่ก็ตาม

ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน – ทำตามความพอใจของผู้ที่จะได้รับผล

โดยตรง

สำนวนไทย หมวด ผ. ฝ. พ. ฟ.ม.


หมวด ผ. ฝ.

ผักชีโรยหน้า – การทำความดีเพียงผิวเผิน

ผ้าขี้ริ้วห่อทอง – คนมั่งมีแต่แต่งตัวซอมซ่อ

ผีซ้ำด้ำพลอย – ถูกซ้ำเติมเมื่อพลาดพลั้งลง หรือเมื่อคราวเคราะห์ร้าย

ฝนตกขี้หมูไหล คนจัญไรมาพบกัน – พลอยเหลวไหลไปด้วยกัน

ฝนทั่งให้เป็นเข็ม – เพียรพยายามสุดความสามารถจนกว่าจะสำเร็จผล

ฝากปลาไว้กับแมว – ไว้วางใจคนที่ไม่ควรไว้วางใจ

ฝากผีฝากไข้ – ขอยึดเป็นที่พึ่งจนวันตาย

ฝ่าคมหอกคมดาบ – เสี่ยงภัยในสงคราม, เสี่ยงอันตรายจากอาวุธนานาชนิด

หมวด พ. ฟ.

พบไม้งามเมื่อยามขวานบิ่น – พบหญิงสาวที่ต้องใจเมื่อแก่

พระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก – ความทุกข์ยากเกิดซ้อน ๆ เข้ามาในขณะเดียวกัน

พระอิฐพระปูน – นิ่งเฉย, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย

พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ – เปลี่ยนแปงหรือทำให้ผิดไปจากเดิมอย่างตรงกันข้าม

พออ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ – รู้ทันกัน

พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง – พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า

เพชรตัดเพชร – คนเก่งต่อคนเก่งมาต่อสู้กัน

แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร – การยอมแพ้ทำให้เรื่องสงบ

ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด – ฟังไม่ได้ความแจ่มชัด แล้วเอาไปพูดต่อ

ไฟสุมขอน – อารมณ์ร้อนรุ่มที่คุกรุ่นอยู่ในใจ

สำนวนไทย หมวด ย. ร. ล


หมวด ย.

ยกตนข่มท่าน – พูดทับถมผู้อื่นแสดงให้เห็นว่าตัวเหนือกว่า

ยกภูเขาออกจากอก – โล่งใจ, หมดวิตกกังวล

ยกเมฆ – เดาเอา, นึกคาดเอาเอง; กุเรื่องขึ้น

ยกหางตัวเอง – ยกยอตนเอง

ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว – ทำอย่างเดียวได้ผล 2 อย่าง

ยิ้มด้วยปาก ถากด้วยตา – เยาะเย้ยด้วยกิริยาท่าทาง

ยืนกระต่ายขาเดียว – พูดยืนยันอยู่คำเดียว ไม่เปลี่ยนความคิดเดิม

ยุให้รำตำให้รั่ว – ยุให้ผิดใจกัน, ยุให้แตกกัน

หมวด ร.

รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา – ใฝ่ดีจะมีความสุขความเจริญ ใฝ่ชั่วจะได้รับความลำบาก

รักพี่เสียดายน้อง - ลังเลใจ, ตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเลือกอย่างไหนดี

รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ – รักจะอยู่ด้วยกันนาน ๆ ให้ตัดความคิดอาฆาตพยาบาทออก

ไป รักจะอยู่กันสั้น ๆ ให้คิดอาฆาตพยาบาทเข้าไว้

ราชรถมาเกย – โชค ลาภ หรือยศตำแหน่งมาถึงโดยไม่รู้ตัว

ราชสีห์สองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้ – คนที่มีอำนาจหรืออิทธิพลพอ ๆ กันอยู่รวมกันไม่ได้

รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง – ทำไม่ดีหรือทำผิดแล้วไม่รับผิด กลับโทษผู้อื่น

รีดเลือดกับปู – เคี่ยวเข็ญหรือบีบบังคับเอากับผู้ที่ไม่มีจะให้รู้งู ๆ ปลา ๆ – รู้เล็ก ๆ น้อย ๆ, รู้ไม่จริง

รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม – เรียนรู้ไว้ไม่หนักเรี่ยวหนักแรงหรือเสียหายอะไร

รู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง – รู้จักเอาตัวรอดหรือปรับตัวให้เข้ากับเหตุการณ์

เรียนผูกต้องเรียนแก้ – รู้วิธีทำก็ต้องรู้วิธีแก้ไข

เรือร่มในหนอง ทองจะไปไหน – คนในเครือญาติแต่งงานกันทำให้ทรัพย์มรดกไม่ตกไป

อยู่กับผู้อื่น

เรือล่มเมื่อจอด ตาบอดเมื่อแก่ – มีอุปสรรคเมื่อใกล้จะสำเร็จ


สำนวนไทย หมวด ว. ศ. ส .ห .อ


หมวด ว. ศ.

วัดรอยเท้า – คอยเทียบตัวเองกับผู้ที่เหนือกว่าเพื่อชิงดีชิงเด่น

วันพระไม่มีหนเดียว – วันหน้ายังมีโอกาสอีก (มักใช้พูดเป็นเชิงอาฆาต)

วัวลืมตีน – คนที่ได้ดีแล้วลืมฐานะเดิมของตน

วัวสันหลังหวะ – คนที่มีความผิดติดตัวทำให้มีความหวาดระแวง

วัวหายล้อมคอก – เรื่องเกิดขึ้นแล้วจึงคิดแก้ไข

ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง – ตำหนิผู้อื่นเรื่องใดแล้วตนก็กลับทำในเรื่องนั้นเสียเอง

ศิษย์คิดล้างครู – ศิษย์เนรคุณที่มุ่งคิดจะทำลายล้างครูบาอาจารย์

ศิษย์นอกครู – ศิษย์ที่ประพฤติไม่ตรงตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์

หมวด ส.

สร้างวิมานในอากาศ – ใฝ่ฝันถึงความมั่งมี, คิดคาดหรือหวังจะมี หรือเป็นอะไรอย่างเลิศ

ลอย

สวยแต่รูป จูบไม่หอม – มีคูปร่างหน้าตาสวย แต่มีความประพฤติและกิริยามารยาทไม่ดี

สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ – ความสุขที่เกิดจากการทำความดี หรือความทุกข์ที่เกิด

จากการทำความชั่วย่อมอยู่ในใจของผู้ทำเอง

สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ – สอนสิ่งที่เขารู้ดีหรือที่เขาถนัดอยู่แล้ว

สันหลังยาว – คำเรียกคนเกียจคร้านเอาแต่นอน

สาวไส้ให้กากิน – เอาความลับของฝ่ายตนไปเปิดเผยให้คนอื่นรู้เป็นการประจานตนหรือ

พรรคพวกของตน

สิ้นไร้ไม้ตอก – ยากไร้, ขัดสนถึงที่สุด, ไม่มีทรัพย์สมบัติติดตัว

สิบเบี้ยใกล้มือ – ของหรือประโยชน์ที่ควรได้ก็เอาไว้ก่อน

สีซอให้ควายฟัง – แนะนำคนโง่ไม่มีประโยชน

สุกเอาเผากิน – ทำลวก ๆ, ทำพอเสร็จไปคราวหนึ่ง ๆ

สุนัขจนตรอก – คนที่ฮึดสู้อย่างไม่คิดชีวิต

เส้นผมบังภูเขา – เรื่องง่าย ๆ แต่คิดไม่ออก

เสือซ่อนเล็บ – ผู่ที่มีความเก่งกล้าสามารถแต่ไม่ยอมแสดงออกมาให้ปรากฏ

เสือนอนกิน –คนที่ได้รับผลประโยชน์หรือผลกำไร โดยไม่ต้องลงทุนลงแรงใส่ตะกร้าล้างน้ำ – ทำให้หมดราคี, ทำให้หมดมลทิน

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ที่มาของสำนวนไทย

ที่มาของสำนวน

1 สำนวนที่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่
ข้าวเหลือเกลืออิ่ม ทรัพย์ในดินสินในน้ำ บ้านเคยอยู่อู่เคยนอน

2 สำนวนเกี่ยวกับพืช
ขิงก็ราข่าก็แรง มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก ใบไม้ร่วงจะออกช่อ

3 สำนวนเกี่ยวกับสัตว์
โง่เง่าเต่าตุ่น ตีปลาหน้าไซ นกมีหูหนูมีปีก

4 สำนวนเกี่ยวกับนิทาน
กิ้งก่าได้ทอง กระต่ายตื่นตูม เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ชาวนากับงูเห่า